ไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าที่จะต้องเข้าเงื่อนไขการจ่าย Co Payment
อัพเดทล่าสุด: 19 พ.ค. 2025
23 ผู้เข้าชม
## ไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าที่จะต้องเข้าเงื่อนไขการจ่าย Co Payment
.
"พี่ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้ผมจะป่วยไหม แต่พี่รู้ว่า ถ้าพี่ป่วย... พี่อยากให้คนที่บ้าน ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินมากกว่าที่ควรจะต้องกังวล"
.
ประโยคนี้ ผมได้ยินจากพี่คนหนึ่ง
ที่มานั่งคุยเรื่องประกันสุขภาพกับผมเมื่อไม่นานมานี้
เขาอายุสี่สิบกว่า ๆ พอเริ่มรู้สึกว่า อายุเข้าโค้งที่สองของชีวิต
การเจ็บไข้ได้ป่วยเริ่มมาเยี่ยมเยือนแบบไม่ได้นัดหมาย
แล้วพี่เขาก็ถามผมว่า...
"แล้วCo Payment เนี่ย มันคืออะไร
ทำไมบางคนกลัว บางคนก็ว่าไม่เป็นไร บางคนไม่อยากทำเลย?"
.
ผมก็เลยเริ่มต้นเล่าให้พี่เขาฟังอย่างช้า ๆ เหมือนอย่างที่ผมกำลังจะเล่าให้ทุกในตอนนี้
.
# Co Payment ไม่ใช่ตัวร้าย... แต่คนเข้าใจผิดบ่อย
Co Payment ถ้าให้แปลแบบเข้าใจง่าย ๆ
มันคือ "การร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วน"
ระหว่างลูกค้ากับบริษัทประกัน
.
คือเวลาเราป่วย เข้าโรงพยาบาล แล้วค่ารักษาพยาบาลออกมาทั้งก้อน บริษัทประกันเขาจะจ่ายให้แทบจะทั้งหมด
แต่จะมีส่วนเล็ก ๆ ที่ลูกค้าต้อง ช่วยออกเอง บางส่วน
เช่น ลูกค้าต้องร่วมจ่ายจะอยู่ที่ 30% ของค่ารักษาจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ส่วนที่เหลือทางบริษัทประกันจะจ่ายให้
.
ฟังแบบนี้ หลายคนอาจจะเริ่มรู้สึกไม่แน่ใจแล้วว่า...
งั้นมันก็แปลว่า... เราซื้อประกันแล้ว ยังต้องจ่ายอีกเหรอ?
.
คำตอบคือ ใช่ครับ แต่เดี๋ยวก่อน อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจว่าไม่ดี
เพราะเรื่องนี้... มันมีรายละเอียดมากกว่านั้นเยอะ
.
# การเข้าเงื่อนไข Co Payment ไม่ใช่เรื่องง่าย
ก่อนที่คุณจะได้ ร่วมจ่าย ตามระบบ Co Payment
คุณต้องผ่าน ด่านเงื่อนไข ก่อนครับ
.
และเงื่อนไขพวกนี้... บอกตรง ๆ ว่า มันไม่ได้ง่ายขนาดที่คุณจะเข้าไปถึงได้ง่าย ๆ
หรือพูดอีกแบบก็คือ ถ้าคุณถึงจุดที่ต้อง Co Pay จริง ๆ นั่นแปลว่า...
คุณเจ็บป่วยหนักพอสมควรแล้วครับ
.
เพราะในประกันสุขภาพแบบมี Co Payment
คุณต้องใช้สิทธิเคลมค่ารักษาเกินเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก่อน นั่นคือ
.
1) ใน หนึ่งรอบปีกรมธรรม์ ถ้าคุณต้องมีการป่วยที่ต้องแอดมิตนอนโรงพยายาล 3 ครั้ง ด้วย การป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple disease) และมีการเคลมค่าใช้จ่ายเกินกว่า 200% ของเบี้ยประกันที่ทำไว้ รอบปีกรมธรรม์ต่อไป คุณต้องร่วมจ่าย Co-Payment 30% ของค่ารักษา
.
2) ใน หนึ่งรอบปีกรมธรรม์ ถ้าคุณต้องมีการป่วยที่ต้องแอดมิตนอนโรงพยายาล 3 ครั้ง ด้วย การป่วยปกติทั่วไป และมีการเคลมค่าใช้จ่ายเกินกว่า 400% ของเบี้ยประกันที่ทำไว้ รอบปีกรมธรรม์ต่อไป คุณต้องร่วมจ่าย Co-Payment 30% ของค่ารักษา
.
3) ใน หนึ่งรอบปีกรมธรรม์ ถ้าคุณต้องมีการป่วยที่ต้องแอดมิตนอนโรงพยายาล ด้วยทั้งเงื่อนไขข้อ 1 และ 2 รวมกัน รอบปีกรมธรรม์ต่อไป คุณต้องร่วมจ่าย Co-Payment 50% ของค่ารักษา
.
ที่สำคัญ การพิจารณาเงื่อนไขนี้จะพิจารณาปีต่อปี ถ้าปีต่อไป คุณไม่มีการเคลมเกินเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ
คุณก็จะกลับมาเป็นเงื่อนไขปกติที่ไม่มี Co Payment ในปีต่อไป
เป็นแบบนี้เรื่อย ๆ ในทุกปี
.
เห็นมั้ยครับว่า กว่าคุณจะเข้าเงื่อนไข Co Payment แต่ละเงื่อนไขได้
คุณจะต้องเกลายเป็นคนป่วยมาก ๆ แล้วเท่านั้น
.
แล้วถ้าถึงเวลานั้น ลองคิดดูดี ๆ นะครับ...
ทุกครั้งที่คุณป่วยหนักจนค่ารักษาสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงคุณจะต้องจ่ายร่วม 30% เพราะ Co Payment
ก็น่าจะดีกว่าต้องจ่ายเองทั้ง 100% เพราะไม่มีประกันใช่มั้ยครับ
แล้วแบบนี้ Co Payment มันน่ากลัวจริง ๆ เหรอ?
.
แล้วทำไมถึงต้องมี Co Payment?
ตรงนี้ ผมอยากให้คุณเข้าใจเจตนาของบริษัทประกันให้ชัดครับ
เพราะ Co Payment ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้า เสียเปรียบ
แต่มันออกแบบมาเพื่อให้ ลูกค้าจ่ายเบี้ยประกันถูกลงได้
.
ฟังดูขัดแย้งใช่ไหม?
แต่ลองคิดตามนะครับ...
ถ้าบริษัทประกันต้องรับความเสี่ยงเต็ม 100% ทุกคน
เขาก็ต้องตั้งเบี้ยให้สูงมาก ๆ เพื่อครอบคลุมทุกความเสี่ยง
.
# ความจริงที่เราไม่ค่อยอยากพูดถึง... แต่ควรคิดไว้
คุณรู้ไหมครับว่า...
คนจำนวนมาก เสียเงินก้อนโตที่สุดในชีวิต ก็เพราะเรื่องสุขภาพ
ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีเงิน
แต่เพราะโรคไม่เลือกคนมีเงิน หรือคนไม่มีเงิน
และเพราะค่ารักษาพยาบาล ไม่เคยรอให้เราพร้อม
ถ้าคุณไม่เตรียมรับมือไว้ก่อน
วันหนึ่ง มันอาจจะสายเกินไป
.
## สรุป... Co Payment ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ถ้าคุณเข้าใจมัน
มันคือเครื่องมือ ที่ช่วยให้คุณมีโอกาส เข้าถึงประกันสุขภาพดี ๆ ในราคาที่จับต้องได้มากขึ้น
มันไม่ใช่กับดัก
มันไม่ใช่ภาระ
แต่มันคือ ทางเลือก ที่บริษัทประกันให้คุณ
เพื่อให้คุณวางแผนชีวิตแบบที่คุณอยากมี... และยังมีหลักประกันไว้ในวันที่ไม่คาดคิด
.
คุณอาจไม่ต้องรู้ไปหมดทุกเรื่องของประกันหรอกครับ
แค่คุณรู้ว่า... ถ้าคุณล้มลง ยังมีประกันคอยพยุงคุณอยู่
แค่นี้... ชีวิตคุณก็เบาใจขึ้นมากแล้วครับ
.
ถ้าคุณอยากลองพูดคุยดูว่า
แผนแบบไหนเหมาะกับคุณ หรือยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Co Payment
ผมยินดีเป็นคนหนึ่ง ที่ช่วยคุณวางแผนให้คุณแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเลยครับ
ส่งข้อความมาพูดคุยได้เลยครับ
.
"พี่ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้ผมจะป่วยไหม แต่พี่รู้ว่า ถ้าพี่ป่วย... พี่อยากให้คนที่บ้าน ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินมากกว่าที่ควรจะต้องกังวล"
.
ประโยคนี้ ผมได้ยินจากพี่คนหนึ่ง
ที่มานั่งคุยเรื่องประกันสุขภาพกับผมเมื่อไม่นานมานี้
เขาอายุสี่สิบกว่า ๆ พอเริ่มรู้สึกว่า อายุเข้าโค้งที่สองของชีวิต
การเจ็บไข้ได้ป่วยเริ่มมาเยี่ยมเยือนแบบไม่ได้นัดหมาย
แล้วพี่เขาก็ถามผมว่า...
"แล้วCo Payment เนี่ย มันคืออะไร
ทำไมบางคนกลัว บางคนก็ว่าไม่เป็นไร บางคนไม่อยากทำเลย?"
.
ผมก็เลยเริ่มต้นเล่าให้พี่เขาฟังอย่างช้า ๆ เหมือนอย่างที่ผมกำลังจะเล่าให้ทุกในตอนนี้
.
# Co Payment ไม่ใช่ตัวร้าย... แต่คนเข้าใจผิดบ่อย
Co Payment ถ้าให้แปลแบบเข้าใจง่าย ๆ
มันคือ "การร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วน"
ระหว่างลูกค้ากับบริษัทประกัน
.
คือเวลาเราป่วย เข้าโรงพยาบาล แล้วค่ารักษาพยาบาลออกมาทั้งก้อน บริษัทประกันเขาจะจ่ายให้แทบจะทั้งหมด
แต่จะมีส่วนเล็ก ๆ ที่ลูกค้าต้อง ช่วยออกเอง บางส่วน
เช่น ลูกค้าต้องร่วมจ่ายจะอยู่ที่ 30% ของค่ารักษาจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ส่วนที่เหลือทางบริษัทประกันจะจ่ายให้
.
ฟังแบบนี้ หลายคนอาจจะเริ่มรู้สึกไม่แน่ใจแล้วว่า...
งั้นมันก็แปลว่า... เราซื้อประกันแล้ว ยังต้องจ่ายอีกเหรอ?
.
คำตอบคือ ใช่ครับ แต่เดี๋ยวก่อน อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจว่าไม่ดี
เพราะเรื่องนี้... มันมีรายละเอียดมากกว่านั้นเยอะ
.
# การเข้าเงื่อนไข Co Payment ไม่ใช่เรื่องง่าย
ก่อนที่คุณจะได้ ร่วมจ่าย ตามระบบ Co Payment
คุณต้องผ่าน ด่านเงื่อนไข ก่อนครับ
.
และเงื่อนไขพวกนี้... บอกตรง ๆ ว่า มันไม่ได้ง่ายขนาดที่คุณจะเข้าไปถึงได้ง่าย ๆ
หรือพูดอีกแบบก็คือ ถ้าคุณถึงจุดที่ต้อง Co Pay จริง ๆ นั่นแปลว่า...
คุณเจ็บป่วยหนักพอสมควรแล้วครับ
.
เพราะในประกันสุขภาพแบบมี Co Payment
คุณต้องใช้สิทธิเคลมค่ารักษาเกินเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก่อน นั่นคือ
.
1) ใน หนึ่งรอบปีกรมธรรม์ ถ้าคุณต้องมีการป่วยที่ต้องแอดมิตนอนโรงพยายาล 3 ครั้ง ด้วย การป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple disease) และมีการเคลมค่าใช้จ่ายเกินกว่า 200% ของเบี้ยประกันที่ทำไว้ รอบปีกรมธรรม์ต่อไป คุณต้องร่วมจ่าย Co-Payment 30% ของค่ารักษา
.
2) ใน หนึ่งรอบปีกรมธรรม์ ถ้าคุณต้องมีการป่วยที่ต้องแอดมิตนอนโรงพยายาล 3 ครั้ง ด้วย การป่วยปกติทั่วไป และมีการเคลมค่าใช้จ่ายเกินกว่า 400% ของเบี้ยประกันที่ทำไว้ รอบปีกรมธรรม์ต่อไป คุณต้องร่วมจ่าย Co-Payment 30% ของค่ารักษา
.
3) ใน หนึ่งรอบปีกรมธรรม์ ถ้าคุณต้องมีการป่วยที่ต้องแอดมิตนอนโรงพยายาล ด้วยทั้งเงื่อนไขข้อ 1 และ 2 รวมกัน รอบปีกรมธรรม์ต่อไป คุณต้องร่วมจ่าย Co-Payment 50% ของค่ารักษา
.
ที่สำคัญ การพิจารณาเงื่อนไขนี้จะพิจารณาปีต่อปี ถ้าปีต่อไป คุณไม่มีการเคลมเกินเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ
คุณก็จะกลับมาเป็นเงื่อนไขปกติที่ไม่มี Co Payment ในปีต่อไป
เป็นแบบนี้เรื่อย ๆ ในทุกปี
.
เห็นมั้ยครับว่า กว่าคุณจะเข้าเงื่อนไข Co Payment แต่ละเงื่อนไขได้
คุณจะต้องเกลายเป็นคนป่วยมาก ๆ แล้วเท่านั้น
.
แล้วถ้าถึงเวลานั้น ลองคิดดูดี ๆ นะครับ...
ทุกครั้งที่คุณป่วยหนักจนค่ารักษาสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงคุณจะต้องจ่ายร่วม 30% เพราะ Co Payment
ก็น่าจะดีกว่าต้องจ่ายเองทั้ง 100% เพราะไม่มีประกันใช่มั้ยครับ
แล้วแบบนี้ Co Payment มันน่ากลัวจริง ๆ เหรอ?
.
แล้วทำไมถึงต้องมี Co Payment?
ตรงนี้ ผมอยากให้คุณเข้าใจเจตนาของบริษัทประกันให้ชัดครับ
เพราะ Co Payment ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้า เสียเปรียบ
แต่มันออกแบบมาเพื่อให้ ลูกค้าจ่ายเบี้ยประกันถูกลงได้
.
ฟังดูขัดแย้งใช่ไหม?
แต่ลองคิดตามนะครับ...
ถ้าบริษัทประกันต้องรับความเสี่ยงเต็ม 100% ทุกคน
เขาก็ต้องตั้งเบี้ยให้สูงมาก ๆ เพื่อครอบคลุมทุกความเสี่ยง
.
# ความจริงที่เราไม่ค่อยอยากพูดถึง... แต่ควรคิดไว้
คุณรู้ไหมครับว่า...
คนจำนวนมาก เสียเงินก้อนโตที่สุดในชีวิต ก็เพราะเรื่องสุขภาพ
ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีเงิน
แต่เพราะโรคไม่เลือกคนมีเงิน หรือคนไม่มีเงิน
และเพราะค่ารักษาพยาบาล ไม่เคยรอให้เราพร้อม
ถ้าคุณไม่เตรียมรับมือไว้ก่อน
วันหนึ่ง มันอาจจะสายเกินไป
.
## สรุป... Co Payment ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ถ้าคุณเข้าใจมัน
มันคือเครื่องมือ ที่ช่วยให้คุณมีโอกาส เข้าถึงประกันสุขภาพดี ๆ ในราคาที่จับต้องได้มากขึ้น
มันไม่ใช่กับดัก
มันไม่ใช่ภาระ
แต่มันคือ ทางเลือก ที่บริษัทประกันให้คุณ
เพื่อให้คุณวางแผนชีวิตแบบที่คุณอยากมี... และยังมีหลักประกันไว้ในวันที่ไม่คาดคิด
.
คุณอาจไม่ต้องรู้ไปหมดทุกเรื่องของประกันหรอกครับ
แค่คุณรู้ว่า... ถ้าคุณล้มลง ยังมีประกันคอยพยุงคุณอยู่
แค่นี้... ชีวิตคุณก็เบาใจขึ้นมากแล้วครับ
.
ถ้าคุณอยากลองพูดคุยดูว่า
แผนแบบไหนเหมาะกับคุณ หรือยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Co Payment
ผมยินดีเป็นคนหนึ่ง ที่ช่วยคุณวางแผนให้คุณแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเลยครับ
ส่งข้อความมาพูดคุยได้เลยครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประกันสุขภาพมีประโยชน์หลายประการที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการกับความเสี่ยงทางสุขภาพ
30 ก.ย. 2024